วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาคผนวก (Appendix)

ภาคผนวก (Appendix)


 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5
สิ่งที่นำมาเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้า


http://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:rR7uJzad1wJ:www.gde.lru.ac.th/download/thesis/08
ภาคผนวกคือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้ายเพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์ในข้อมูล เนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย ภาคผนวกอาจประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากส่วนที่จัดไว้ในเนื้อหา สำเนาเอกสารหายาก
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ นอกจากนี้อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น คำอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอน หรือวิธีทำภาพประกอบ การสร้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทดลองผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นในโครงการวิจัยนั้น ๆ สำหรับกรณีมีภาคผนวกหลายภาค ให้จัดเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข
และภาคผนวก ค ตามลำดับ และให้ขึ้นหน้าใหม่เมื่อขึ้นภาคผนวกใหม่และพิมพ์หน้าบอกตอนสำหรับภาคผนวกนั้น ๆ ด้วย


actech.agritech.doae.go.th/techno/training/Tamra/lesson4.pdf
ภาคผนวก เป็นส่วนท้ายของตำรา ซึ่งไม่ใช่เนื้อเรื่องแท้จริงของงานเขียน ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยทั่วไปสิ่งที่จะนำมาไว้ในภาคผนวกจะประกอบด้วย
1. ตาราง กราฟ แผนที่ แผนภูมิ ในการเขียนตำรา หรือรายงานการวิจัย บางครั้งอาจมีตาราง กราฟ แผนที่และแผนภูมิ ซึ่งมีความละเอียด หากใส่ไว้ในเนื้อหาจะทำให้เรื่องไม่กระชับ
2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย เช่น วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ นิยมนำเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ มาใส่ไว้ในภาคผนวก เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษารายละเอียดและเป็นหลักฐานยืนยัน
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ในกรณีที่การวิจัยนั้นมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือรวบรวมข้อมูล เช่น การตรวจสอบความเที่ยง ตรวจสอบความตรง วิเคราะห์ความยากง่าย และอำนาจจำแนก โดยจะนำผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์มานำเสนอไว้ และมีตัวอย่างการคำนวณด้วยเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำไปศึกษาค้นคว้าต่อไป
4. ภาพประกอบต่าง ๆ สูตรการใช้สารเคมี ในกรณีที่ผู้เขียนได้เขียนเอกสารทางวิชาการ ด้านการเกษตร บทเรียนโปรแกรมสำเร็จรูป สามารถแยกมาไว้ในภาคผนวก จะทำให้เขียนรายละเอียดได้ครบถ้วนยิ่งขึ้น
5. สำเนาเอกสารหายาก รายงานการวิจัยบางเรื่องอาจจะต้องใช้เอกสารหลักฐานจำนวนมากที่หายากเพื่อใช้ประกอบในงาน จึงควรนำมาใส่รวมกันไว้ในภาคผนวก
6. ข้อความ ทฤษฎี หรือเทคนิควิธีที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดมาก รวมทั้งวิธีการคำนวณค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติ ก็จะนำรายละเอียดมาใส่ไว้ด้วยกัน
7. หนังสือขอความร่วมมือเก็บข้อมูล หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือหนังสืออื่น ๆ ที่จะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย
ส่วนประกอบของภาคผนวกเหล่านี้ เมื่อนำมาไว้ในภาคผนวกจะจัดแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของเอกสารข้อมูล โดยอาจกำหนดเป็นภาคผนวก ก...ข...ค ซึ่งจะต้องระบุไว้ในสารบัญ โดยเรียงลำดับต่อจากสารบัญเนื้อหา
               

 สรุป  ภาคผนวกคือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้ายเพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์ในข้อมูล เนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยทั่วไปสิ่งที่จะนำมาไว้ในภาคผนวกจะประกอบด้วย
1. ตาราง กราฟ แผนที่ แผนภูมิ
2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล
4. ภาพประกอบต่าง ๆ สูตรการใช้สารเคมี
5. สำเนาเอกสารหายาก
6. ข้อความ ทฤษฎี หรือเทคนิควิธีที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดมาก รวมทั้งวิธีการคำนวณค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติ ก็จะนำรายละเอียดมาใส่ไว้ด้วยกัน
7. หนังสือขอความร่วมมือเก็บข้อมูล หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือหนังสืออื่น ๆ ที่จะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย
เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
            

 อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ10/11/55.
actech.agritech.doae.go.th/techno/training/Tamra/lesson4.pdf  เข้าถึงเมื่อ10/11/55.

เอกสารอ้างอิง (References)

.       เอกสารอ้างอิง (References)


http://wtoy9996.blogspot.com/
การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงรวมทั่งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม
การอ้างอิงเอกสาร หรือทรัพยากรสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.
การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (เชิงอรรถ)
2.
การอ้างอิงท้ายเรื่อง หรือท้ายเล่ม (บรรณานุกรม)
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809
เอกสารอ้างอิง หมายถึง หนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการค้นคว้าที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพื่อศึกษาหาข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานโดยให้เขียนชื่อหนังสือที่เป็นภาษาไทยให้ครบทุกเล่มก่อน และต่อด้วยหนังสือภาษาอังกฤษ โดยเรียงชื่อผู้แต่งตามอักษรก่อนหลัง


http://www.slideshare.net/jiratt/ss-4800617
เอกสารอ้างอิง เป็นรายชื่อสิ่งพิมพ์ หรือโสตทัศนวัสดุที่ผู้วิจัยใช้อ้างอิงในการวิจัย ซึ่งได้เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ดังนั้นรายการเอกสารอ้างอิงจึงควรมีรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สรุป  เอกสารอ้างอิง หมายถึง  แหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิมซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ การอ้างอิงเอกสาร หรือทรัพยากรสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.
การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (เชิงอรรถ)
2.
การอ้างอิงท้ายเรื่อง หรือท้ายเล่ม (บรรณานุกรม)
อ้างอิง
http://wtoy9996.blogspot.com/  เข้าถึงเมื่อ10/11/55.
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809   เข้าถึงเมื่อ10/11/55.      
http://www.slideshare.net/jiratt/ss-4800617   เข้าถึงเมื่อ10/11/55.

งบประมาณ (budget)

งบประมาณ (budget)

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921
  งบประมาณ (budget)
       
การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
        12.1
เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        12.2
ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        12.3
ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        12.4
ค่าครุภัณฑ์
        12.5
ค่าประมวลผลข้อมูล
        12.6
ค่าพิมพ์รายงาน
        12.7
ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
                 
โครงการแล้ว
        12.8
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ



http://www.learners.in.th/blogs/posts/155175
งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน  สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า   ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน  6 เดือน  หรือ  1 ปี   และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา  3  ปี   5  ปี   การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร   และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้

http://www.imd.co.th/knowledge.php?id=8
งบประมาณ (Budgeting) คือ การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงินจำนวนชั่วโมงในการทำงานจำนวนผลิตภัณฑ์จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ย เป็นต้น
สรุป งบประมาณ (Budgeting) คือการวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงินจำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ย  ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน  6 เดือน  หรือ  1 ปี   และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา  3  ปี   5  ปี 
การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
       1.
เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
       2.
ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
       3.
ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
       4.
ค่าครุภัณฑ์
       5.
ค่าประมวลผลข้อมูล
       6.
ค่าพิมพ์รายงาน
       7.ค่าจัดประชุมวิชาการ
 เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงานหรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
       8.
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ


อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 10/11/55.
http://www.learners.in.th/blogs/posts/155175  เข้าถึงเมื่อ 10/11/55.
http://www.imd.co.th/knowledge.php?id=8  เข้าถึงเมื่อ 10/11/55.

การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)

.       การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5
การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)
ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
- ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ติดต่อผู้นำชุมชน
- การเตรียมชุมชน
- การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
- การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
- การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
- การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
- ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน (Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม (control) เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control) นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป โดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการ (chain of command) เพื่อวางโครงสร้าง ของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ ตลอดจนติดตามประเมินผล ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่ (flow chart) เช่น
ง. การควบคุมโครงการ (Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัย ทำเสร็จทันเวลา ซึ่งปกติจะใช้ Gantt’s chart
Gantt’s chart จะดูความสัมพันธ์ ระหว่างกิจกรรม ที่จะปฏิบัติ และระยะเวลา ของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอน จะเป็น ระยะเวลา ที่ใช้ ของแต่ละ กิจกรรม ส่วนแนวตั้ง จะเป็น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ กำหนดไว้ จากนั้น จึงใช้ แผนภูมิแท่ง (bar chart) ในการแสดง ความสัมพันธ์นี้


http://nitytyyy.blogspot.com/2012/11/19.html
การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.             วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2.             กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
2.1 ขั้นเตรียมการ
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
-
ติดต่อผู้นำชุมชน
-
การเตรียมชุมชน
-
การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
-
การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
-
การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
-
การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
-
การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
-
ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่
ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง


สรุป
การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง


อ้างอิงจาก 
เสนาะ ติเยาว์, หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย,2545.

ภิรมย์ กมลรัตนกุล, หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด, 2542. 
สืบค้นเมื่อวันที่  5  พฤศจิกายน  2555.