วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงร่างการวิจัย ควรมีส่วนประกอบที่สำคัญ 22 ประการ



โครงร่างการวิจัย  ควรมีส่วนประกอบที่สำคัญ  22  ประการ
1.              ชื่อเรื่อง (The Title)
ชื่อเรื่อง มักเป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรก ของโครงร่างการวิจัยทั้งโครงการ จึงควรตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ พิจารณาแล้ว เป็นเรื่องที่วิจัยได้ (researchable topic) และควรแก่การแสวงหาคำตอบโดยทั่วไป หลักในการตั้งชื่อเรื่อง ทำได้โดยหยิบยกเอาคำสำคัญ (key words) ของเรื่องที่จะทำวิจัย ออกมาประกอบกันเป็นชื่อเรื่อง จะทำให้ชื่อนั้นสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และสื่อความหมาย ครอบคลุมความสำคัญ ของเรื่องที่จะศึกษาทั้งหมด
    ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่นประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547”
        นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
        1.1    ความสนใจของผู้วิจัย
                  ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
        1.2    ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
                  ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
                  โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
        1.3    เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
                  เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
                  ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ
                  บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
        1.4    ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
                  ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
                  ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ
                  ระเบียบวิธีของการวิจัย
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2534:32) กล่าวว่าต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม
สรุป   ชื่อเรื่องเป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรก ของโครงร่างการวิจัยจึงควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร  ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
1    ความสนใจของผู้วิจัย
2    ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
3    เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
4    ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5 เข้าถึงเมื่อ 22/11/55
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921เข้าถึงเมื่อ 22/11/55
เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์. การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2537.
สืบค้นเมื่อ22/11/55




2.              ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)
คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริง กรณีที่เป็นศิลปะนิพนธ์ให้อธิบายเหตุผลที่เลือกทำศิลปะนิพนธ์เรื่องนี้ โดยอ้างทฤษฎีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาที่ต้องการทราบและความสำคัญหรือประโยชน์ของการทำศิลปะนิพนธ์เรื่องนี้มาสนับสนุนเหตุผล ควรเขียนให้กระชับและให้ความชัดเจน จากเนื้อหาในมุมกว้างแล้วเข้าสู่ปัญหาของศิลปะนิพนธ์ที่ทำ เพื่อให้สามารถโน้มน้าวให้ผู้อ่านหรือผู้อนุมัติโครงการวิจัยคล้อยตามว่าถ้าหากวิจัยแล้วจะเกิดคุณประโยชน์อย่างไร แล้วสรุปเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์การวิจัย http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm
ในเรื่องความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาในที่นี้จะกล่าวถึง แนวทางการเรียนที่ควรจะปรากฎอยู่ในรายงานการวิจัยโดยทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1. แนะปัญหาที่กำลังค้นคว้า เป็นการท้าวภูมิหลัง ความเป็นมา มีการจัดลำดับให้ชัดเจนของเรื่องราว แหล่งกำเนิด ผู้ค้นพบ การสืบทอดของปัญหา ที่มาของการวิจัย โดยใช้เหตุและผลมาสนับสนุนความคิดต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อชี้แนะให้เห็นความจำเป็น และความสำคัญของการทำวิจัย เรื่องที่อ้างอิง และสนับสนุนควรจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเท่านั้น
2. กล่าวถึง จุดสนใจของการศึกษาค้นคว้า และมูลเหตุของการทำวิจัย ที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาค้นคว้า เช่น เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจในขณะนั้น หรือเป็นเรื่องราวที่ยังมิได้รับคำตอบครบถ้วน หรือขาดรายละเอียด
3. มีการเขียนบรรยายถึงความจำเป็นในการศึกษา และการได้รับคำตอบจากงานวิจัย มีคุณประโยชน์ และมีคุณค่าอย่างไร
4. กล่าวถึงความต้องการ และยืนยัน หรือลบล้างความเปลี่ยนแปลงของสภาพ และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เคยได้มีการศึกษามาแล้ว ได้ใช้หลักการ และเหตุผลในการสนองตอบ และหักล้างแนวความคิด
5. ในการเขียนนำเรื่องความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาอาจใช้วิธีต่อไปนี้
    5.1 มีการเขียนจากหลักการ และนำเข้าสู่เรื่องเฉพาะ (Deductive Method)
    5.2 เขียนจากเรื่องเฉพาะ แล้วดำเนินไปถึงเรื่องทั่ว ๆ ไป (Inductive Method)
อย่างไรก็ตามในการเขียนนำในเรื่องความเป็นมานั้น จะใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และการวางแผนงานของผู้วิจัย แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยควรหาหลักฐานในการยืนยันมาสนับสนุนข้อมูลทุกขั้นตอน และพยายามทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้เรื่อง และติดตามงานวิจัยตลอดทั้งเรื่อง


    อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
                สรุป
ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย คือ การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริงมีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร
อ้างอิง
http://rforvcd.wordpress.com/  เข้าถึงเมื่อ22/11/55
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   เข้าถึงเมื่อ22/11/55
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ22/11/55



3.              ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ( Review  of Related Literatures )
rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=710
การทบทวนวรรณกรรม: การศึกษา ค้นคว้าสารสนเทศที่กล่าวถึง หรือสัมพันธ์กับเรื่องที่ทำการวิจัย ซึ่งอาจจะปรากฏในรูปของสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆก็ได้
วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม
1) แสวงหาพื้นฐานทางทฤษฎีของการวิจัย
2) บ่งบอกสถานภาพของการวิจัยในหัวข้อนั้นๆ
3) แสดงถึงความเป็น ผู้รู้ของนักวิจัย ก่อนทำวิจัย
4) สร้างนิยามปฏิบัติการของตัวแปรสำคัญ
5) กำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
6) สร้างกรอบแนวคิดของการวิจัย
7) แสวงหาแนวคิดและประสบการณ์ เพื่อการออกแบบการวิจัย
hsmi.psu.ac.th/upload/forum/c2ResearchMethodology.pdf
การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การค้นคว้า ศึกษา รวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัยทำให้ทราบถึง
1. ปัญหาวิจัย การออกแบบวิจัย
2. ทฤษฎี แนวคิด กรอบแนวคิด สมมติฐาน
3. ตัวแปร เครื่องมือวิจัย การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพ
4. ประชากร กลุ่มตัวอย่างและการเลือก/สุ่มตัวอย่าง
5.การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
6. ผลการวิจัย
ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม
7.ช่วยมิให้ทำวิจัยในเรื่องที่มีผู้ได้ทำการศึกษาวิจัยมาอย่างเพียงพอแล้ว
8.ช่วยให้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการวิจัยได้ถูกต้องเหมาะสม
9.ทราบถึงวิธีการศึกษาที่ทำมาในอดีตและช่วยให้ออกแบบงานวิจัยได้เหมาะสม
10.ทำให้ทราบถึงปัญหาความยุ่งยากของการวิจัย
11.ทำให้ทราบว่าแหล่งความรู้อยู่ที่ไหนบ้าง
12.ช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อค้นพบในอดีตและเชื่อมโยงทฤษฎีแนวความคิดในอดีตกับข้อมูลปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสะสมความรู้
การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่อง หรือประเด็นปัญหา
การวิจัยจากวารสารหนังสือ ตำรา รายงานการวิจัยวิทยานิพนธ์ ฯลฯ
จุดมุ่งหมายของการทบทวน
1. รวบรวมแนวคิดในการตั้งปัญหาการวิจัย
2. มีความรอบรู้ในข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับ
3. การเตรียมกรอบทฤษฎีในการวิจัย
4. ประเมินความเป็นไปได้ในการทำวิจัย
5. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการ และเครื่องมือวิจัย
6. ศึกษาผลงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
7. สร้างความคุ้นเคยกับวิธีการศึกษา และข้อมูล
                สรุป การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่อง หรือประเด็นปัญหาการวิจัยจากวารสารหนังสือ ตำรา รายงานการวิจัยวิทยานิพนธ์ ฯลฯ
จุดมุ่งหมายของการทบทวน
1. รวบรวมแนวคิดในการตั้งปัญหาการวิจัย
2. มีความรอบรู้ในข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับ
3. การเตรียมกรอบทฤษฎีในการวิจัย
4. ประเมินความเป็นไปได้ในการทำวิจัย
5. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการ และเครื่องมือวิจัย
6. ศึกษาผลงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
7. สร้างความคุ้นเคยกับวิธีการศึกษา และข้อมูล
ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม
7.ช่วยมิให้ทำวิจัยในเรื่องที่มีผู้ได้ทำการศึกษาวิจัยมาอย่างเพียงพอแล้ว
8.ช่วยให้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการวิจัยได้ถูกต้องเหมาะสม
9.ทราบถึงวิธีการศึกษาที่ทำมาในอดีตและช่วยให้ออกแบบงานวิจัยได้เหมาะสม
10.ทำให้ทราบถึงปัญหาความยุ่งยากของการวิจัย
11.ทำให้ทราบว่าแหล่งความรู้อยู่ที่ไหนบ้าง
12.ช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อค้นพบในอดีตและเชื่อมโยงทฤษฎีแนวความคิดในอดีตกับข้อมูลปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสะสมความรู้
อ้างอิง
rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=710   เข้าถึงเมื่อ22/11/55
hsmi.psu.ac.th/upload/forum/c2ResearchMethodology.pdf   เข้าถึงเมื่อ22/11/55
www.rtncn.ac.th/pdf/research/research2.pdf  เข้าถึงเมื่อ22/11/55


4.        คำถามของการวิจัย  ( Research Question ( s))
คำถามของการวิจัย   ในการวางแผนทำวิจัยนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น ก็คือ "การกำหนดคำถามของการวิจัย" (Problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหา เป็นส่วนสำคัญของการวิจัย แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาทุกปัญหา ต้องทำการวิจัย เพราะคำถามบางอย่าง ใช้ขบวนการในการวิจัย ก็สามารถตอบปัญหานั้นได้
คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question (s) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
ผู้วิจัย อาจจำเป็นต้องแสดงเหตุผล เพื่อสนับสนุนการเลือก ปัญหาการวิจัยดังกล่าว เพื่อให้โครงร่างการวิจัยนี้ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
คำถามของการวิจัย (research question )
        เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
        คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้


คำถามวิจัย คือ ข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคำตอบ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
อนึ่งในการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น คำถามการวิจัยมิได้แข็งตัวหรือปรับแก้ไม่ได้ แต่ผู้วิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ในระหว่างการทำงานภาคสนาม หรือเมื่อได้ข้อค้นพบบางประการจากการวิจัยซึ่งอาจช่วยพัฒนาคำถามวิจัยขึ้นใหม่ได้ (generative question)
                สรุป
                คำถามวิจัย คือ ข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคำตอบ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วคำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง
                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-4 เข้าถึงเมื่อ 24/11/55
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 24/11/55 http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=567747d7aed7e2f7 เข้าถึงเมื่อ 24/11/55




5.              วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective (s))
ในโครงร่างการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ อันเป็นสิ่งซึ่งผู้วิจัยมุ่งหวัง ที่จะทำให้การวิจัยนั้น บรรลุทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้
โดยทั่วไป วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
ก. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
ข. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
      เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
        1    วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                  ตัวอย่างเช่น
                  เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
        2    วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                  2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                  2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ไว้ 8 ประการคือ
1. เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม หรือเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะทำวิจัยในเรื่องต่อๆไป
2. เพื่ออธิบายความเป็นอยู่ของคนในสังคมโดยการให้ข้อมูลหรือข่าวสารที่น่าเชื่อถือ
3. เพื่อประเมินประเด็นต่าง ๆ ทางด้านสังคมและผลกระทบที่มีต่อสังคมนั้นๆ
4. เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์ในอนาคต
5. เพื่อพัฒนาหรือทดสอบทฤษฎี
6. เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์
7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
8. เพื่อเสนอแนะทางออกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อการแก้ปัญหาสังคม
สรุป  วัตถุประสงค์ของการวิจัยในโครงร่างการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ  โดยทั่วไป วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
ก. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
              ข. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5   เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=359275   เข้าถึงเมื่อ10/11/55




6.              สมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผล จึงมักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระ (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค AIDS
สมมติฐาน ทำหน้าที่เสมือน เป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
สมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถ้าทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชนิด ไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน เช่น การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory or formulative research) เป็นต้น
สมมติฐาน คือ ข้อเท็จจริงที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือระหว่างข้อความในเชิงที่สามารถทำการทดสอบได้ โดยทั่วไปสมมติฐานเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี หากข้อสมมติฐานหรือทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงเสมอจึงกลายเป็นกฎ
สมมติฐาน  คือ การคาดคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์  และการศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้องแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับจนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อน  จึงจะทราบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่  ดังนั้นควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ ข้อ และทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานไปพร้อมๆ กัน
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
 1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย  มักนิยมใช้วลี "ถ้าดังนั้น"
 2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
 3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
 4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่เคยยอมรับอาจล้มเลิกได้ถ้ามีข้อมูลจากการทดลองใหม่ๆ มาลบล้าง  แต่ก็มีบางสมมติฐานที่ไม่มีข้อมูลจากการทดลองมาคัดค้านทำให้สมมติฐานเหล่านั้นเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้อง เช่น สมมติฐานของเมนเดลเกี่ยวกับหน่วยกรรมพันธุ์ ซึ่งเปลี่ยนกฎการแยกตัวของยีน หรือสมมติฐานของอโวกาโดรซึ่งเปลี่ยนเป็นกฎของอโวกาโดร
สรุป  การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผลสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถ้าทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น  หากข้อสมมติฐานหรือทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงเสมอจึงกลายเป็นกฎ
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
 1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย  มักนิยมใช้วลี "ถ้าดังนั้น"
 2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
 3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
 4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้ง  ไว้
                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ10/11/55
www.eng.su.ac.th/che/old53/faculty_and_staff/.../research-4.pdf     เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/t2-32.htm   เข้าถึงเมื่อ10/11/55



7.              กรอบแนวความคิดในการวิจัย( Conceptual  ramework )
การวิจัยในบางเรื่อง จำเป็นต้องสร้าง กรอบแนวความคิดในการวิจัยขึ้น เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย ของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มา หรือปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนด ในพฤติกรรมดังกล่าว
กรอบความคิดในการวิจัย (conceptual framework) หมายถึง แบบจำลองที่นักวิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฏีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ และจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่ เพียงใด ในรายงานการวิจัย นักวิจัยนิยมเสนอกรอบความคิดในการวิจัยในรูปแบบของโมเดล หรือแผนภาพแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย
กรอบความคิดในการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา เพื่อหาคำตอบในการวิจัยโดยมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีรองรับ มิใช่กำหนดขึ้นตามความพอใจโดยปราศจากหลักเกณฑ์
สรุป  กรอบความคิดในการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา สร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฏีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ และจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่ เพียงใด ในรายงานการวิจัย นักวิจัยนิยมเสนอกรอบความคิดในการวิจัยในรูปแบบของโมเดล หรือแผนภาพแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย
อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ 10/11/55
www.eng.su.ac.th/che/old53/faculty_and_staff/.../research-4.pdf   เข้าถึงเมื่อ 10/11/55
www.research.doae.go.th/   เข้าถึงเมื่อ 10/11/55




8.              ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)
การวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย
ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไร เช่น ผู้วิจัยเลือกใช้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพราะผู้วิจัยมีฐานคิดว่า “reality” อยู่ที่ความเชื่อ ความคิด ของผู้ให้ข้อมูล ดังนั้นการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล
การวิจัยนั้นความจริงเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถ นำมาประยุกต์ ใช้ทางมนุษย์ศาสตร์ได้ดี ดังนั้น การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อตกลงเบื้องต้นนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
1.  ข้อตกลงที่เกี่ยวกับรูปแบบกายภาพทางธรรมชาติ (Assumption of Uniformity of Nature) หมายถึง ข้อตกลงของปรากฏการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีเหตุผล และเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด มีแบบฉบับตายตัวที่เกิดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งข้อตกลงนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้
             1.1 ชนิดของธรรมชาติ (Postulate of Natural Kinds) หมายถึงธรรมชาติมี โครงสร้าง คุณสมบัติ และจดหมายของตัวเอง เช่น การจัดหมวดหมู่ของ สัตว์ พืช ดิน น้ำ ไว้เป็นกลุ่มเป็นพวก
              1.2 ความสม่ำเสมอ (Postulate of Constancy) หมายถึงปรากฏการณ์ตาม ธรรมชาติ จะคุมคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะอย่าง เช่น น้ำจะแข็งเมื่ออากาศเย็นจัด แต่ถ้าอากาศอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็จะละลาย เป็นน้ำ
              1.3 ความเป็นเหตุเป็นผล (Determinism) หมายถึง ปรากฏการณ์ทั้งหลายใน ธรรมชาติมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น และผลก็จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น เช่น ถ้าอยากวาดภาพสีน้ำ หากเรามีแต่น้ำไม่มีสีก็ไม่สามารถ วาดภาพได้
2.  ข้อตกลงที่เกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา (Assumption Concerning the Psychological Process) ข้อตกลงนี้หมายถึง การที่บุคคลได้รับความรู้ต่าง ๆ โดยอาศัยจิตวิทยา 3 ประการ ได้แก่ การรับรู้ (Perceiving) การจำ (Remembering) และการใช้เหตุผล (Reasoning) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ได้แก่
          2.1 ความเชื่อถือของการรับรู้ (Postulate of Reliability of Percieving) หมายถึง การรับรู้ของบุคคลต้องเชื่อถือได้ และมีความแน่นอน หรือมีความเที่ยงตรง
          2.2 ความเชื่อถือของการจำ (Postulate of Reliability of Remembering) หมายถึงว่า การจำต้องมีความน่าเชื่อถือว่าถูกต้อง ซึ่งการจำนี้ทำได้โดย การจดบันทึก หรือใช้เอกสาร เทปบันทึก หลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำ อย่างถูกต้อง
         2.3 ความเชื่อถือของการใช้เหตุผล (Postuiate of Reliability of Reasoning) หมายถึงการใช้เหตุผลในการหาความรู้ ต้องมีความเชื่อมั่นว่า ได้มาอย่าง ถูกต้อง มีระบบความคิดที่เป็นระบบ และสามารถนำมาใช้เป็นทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้
                สรุป   ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถ นำมาประยุกต์ ใช้ทางมนุษย์ศาสตร์ได้ดี ดังนั้น การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อตกลงเบื้องต้นนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
                1.  ข้อตกลงที่เกี่ยวกับรูปแบบกายภาพทางธรรมชาติ (Assumption of Uniformity of Nature) หมายถึง ข้อตกลงของปรากฏการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีเหตุผล และเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด มีแบบฉบับตายตัวที่เกิดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งข้อตกลงนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้
             1.1 ชนิดของธรรมชาติ (Postulate of Natural Kinds)
1.2 ความสม่ำเสมอ (Postulate of Constancy)
1.3 ความเป็นเหตุเป็นผล (Determinism)
2.  ข้อตกลงที่เกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา (Assumption Concerning the Psychological Process) ข้อตกลงนี้หมายถึง การที่บุคคลได้รับความรู้ต่าง ๆ โดยอาศัยจิตวิทยา 3 ประการ ได้แก่ การรับรู้ (Perceiving) การจำ (Remembering) และการใช้เหตุผล (Reasoning) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ได้แก่
          2.1 ความเชื่อถือของการรับรู้ (Postulate of Reliability of Percieving)
          2.2 ความเชื่อถือของการจำ (Postulate of Reliability of Remembering)
          2.3 ความเชื่อถือของการใช้เหตุผล (Postuiate of Reliability of Reasoning)
                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5   เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html   เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://www.researchers.in.th/blogs/posts/280  เข้าถึงเมื่อ10/11/55





9.              คำสำคัญ (Key words)
ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
คำสำคัญ หมายถึง คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของบทความวารสาร ซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกะทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะ ซึ่งการค้นหาด้วยคำสำคัญ หรือ Keyword นี้ จะเป็นการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง (ทั้งนี้ยกเว้นคำบางคำ เช่น เป็น, ที่, ซึ่ง,อัน,and, from, the, this, what ฯลฯ)
ซึ่งการค้นแบบนี้ เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ไม่ทราบชื่อบทความที่แน่ชัด หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับหัวเรื่อง
คำสำคัญนั้น จะเป็นคำที่เป็น Keyword หรือคำที่สื่อถึงใจความสำคัญของเนื้อหาของสิ่งที่เราจะสำคัญลองนึกภาพดูง่ายๆ นั่นคือ หากเรานึกถึงเนื้อหาสิ่งที่เราเขียนเราจะนึกถึงคำว่าอะไร และถ้าต้องการไปค้นหาใน Google.com แล้ว ต้องให้คำนั้นเชื่อมโยงมาเจอเนื้อหาที่เราเขียนไว้
วิธีการเลือกใส่คำสำคัญมีดังนี้
1. ควรเลือกใส่คำสำคัญที่เป็น "คำ"หรือ "ประโยคสั้นๆ"
2. ควรเลือกใส่ "คำที่สื่อถึงเนื้อหา" "วัตถุประสงค์"หรือ "เป้าหมาย" ของเนื้อหา" หรือเลือก "คำที่เป็นใจความสำคัญ (keyword)" ของเนื้อหามาใส่เป็นคำสำคัญ แต่ "ไม่ใช่การใส่ประโยคยาวๆ"
3.  หากคำสำคัญที่ใช้เป็นภาษาไทยแต่มีผู้นิยมใช้เป็นภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายก็ควรใส่คำสำคัญภาษาอังกฤษเข้าไปด้วย เช่น การจัดการความรู้ ก็ควรใส่คำว่า km หรือ Knowledge management ไปด้วย
4.  ไม่ควรใส่คำสำคัญเป็นประโยคยาวๆ
                สรุป   คำสำคัญ (Key words) คือ คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลักที่จะช่วยในการสืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นและแทนเนื้อหาของบทความวารสารซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกะทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะแต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร     วิธีการเลือกใส่คำสำคัญมีดังนี้
1. ควรเลือกใส่คำสำคัญที่เป็น "คำ"หรือ "ประโยคสั้นๆ"
2. ควรเลือกใส่ "คำที่สื่อถึงเนื้อหา" "วัตถุประสงค์"หรือ "เป้าหมาย" ของเนื้อหา" หรือเลือก "คำที่ เป็นใจความสำคัญ (keyword)" ของเนื้อหามาใส่เป็นคำสำคัญ แต่ "ไม่ใช่การใส่ประโยคยาวๆ"
3.  หากคำสำคัญที่ใช้เป็นภาษาไทยแต่มีผู้นิยมใช้เป็นภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายก็ควรใส่คำสำคัญ ภาษาอังกฤษเข้าไปด้วย เช่น การจัดการความรู้ ก็ควรใส่คำว่า km หรือ Knowledge management ไปด้วย
4.  ไม่ควรใส่คำสำคัญเป็นประโยคยาวๆ
                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ 10/11/55
http://lib20.kku.ac.th/infoliteracy/opac_journal_keyword.html   เข้าถึงเมื่อ 10/11/55
http://www.learners.in.th/blogs/posts/150101   เข้าถึงเมื่อ 10/11/55




10.       การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่ใช้ในการวิจัย (Operational Defenitions)
ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (trms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรทีเกี่ยวกับความรู้ (ความรู้สูง, ปานกลาง, ต่ำ) ทัศนคติ (ดี-ไม่ดี), ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น

ปาริชาติ   สถาปิตานนท์. (2550;104) กล่าวว่าคำนิยามเชิงปฏิบัติการ คือการกำหนดคำนิยามศัพท์เชิงแนวความคิด ได้แก่ การอธิบายองค์ประกอบต่างๆเกี่ยวกับวัตถุ หรือแนวความคิดที่เราสนใจ

เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541;74) กล่าวว่าคำนิยามเชิงปฏิบัติการ คือข้อความที่กำหนดวิธีการต่างๆที่
สามารถนำไปปฏิบัติหรือวัดค่าของตัวแปรนั้นออกมาได้ โดยการระบุกิจกรรมหรือการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการวัดตัวแปร ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือของผู้วิจัยในการวัดค่าตัวแปรนั้น
                สรุป
                คำนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ การอธิบายองค์ประกอบต่างๆเกี่ยวกับวัตถุ หรือแนวความคิดที่เราสนใจ  อาจมีตัวแปร หรือคำศัพท์เฉพาะต่างๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจนในรูปที่สามารถสังเกต หรือวัดได้ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจมีการแปรความหมายไปได้หลายทาง
              อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5 เข้าถึงเมื่อ10/11/55
ปาริชาติ สถาปิตานนท์ : ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ : (2550).สืบค้นเมื่อ 10/11/55
เพ็ญแข แสงแก้ว : การวิจัยทางสังคมศาสตร์ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(2541). สืบค้นเมื่อ 10/11/55




11.       รูปแบบการวิจัย (Research Design)
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2533:16).ได้กล่าวว่า รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง
               เรืองอุไร ศรีนิลทา. (2535:228).ได้กล่าวว่า รูปแบบการวิจัยจะต้องมีรูปแบบ(format)ตามที่หน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยหรือองค์กรที่จะตีพิมพ์งานวิจัยออกเผยแพร่กำหนด รูปแบบของการวิจัย เป็นแนวทางโดยทั่วไปของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่ และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น รูปแบบของการเขียนรายงานวิจัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย โดยปกติหน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรที่ตีพิมพ์รายงานการวิจัยออกเผยแพร่แต่ละองค์กรด้วย จะกำหนดรูปแบบของรายงานวิจัยนั้นขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายถือปฏิบัติฉะนั้น ก่อนที่จะเริ่มเขียนรายงานวิจัย ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องศึกษารูปแบบของรายงานการวิจัยที่หน่วยงานกำกับการดำเนินงานวิจัยของตน และองค์กรที่ตนประสงค์จะให้ตีพิมพ์รายงานวิจัยของตนออกเผยแพร่  กำหนดและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆของรูปแบบนั้น  แล้วปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการเขียนรายงานวิจัย
               ไพศาล หวังพานิช. (2531:80).ได้กล่าวว่า รูปแบบการวิจัย เป็นแบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้อย่างถูกต้องแบบการวิจัยมีหลายแบบด้วยกัน ซึ้งมีตั้งแต่แบบที่ง่ายไปจนถึงแบบที่สลับซับซ้อนการที่ผู้วิจัยจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการศึกษา ต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้าง ลึกซึงแค่ไหน
                สรุป   รูปแบบการวิจัย    (Research Design) เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้นเป็นการวิจัยที่ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องศึกษาค้นคว้าได้อย่างถูกต้องตามที่หน่วยงานกำหนดหรือกำกับการดำเนินงานวิจัยของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น เช่นตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร ฯ ทำความเข้าใจกับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ ของรูปแบบนั้นแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
                อ้างอิง
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.การวิจัย การวัดและประเมินผล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศรีอนันต์.2533.                        สืบค้นเมื่อ10/11/55
เรืองอุไร ศรีนิลทา.ระเบียบวิธีวิจัย.กรุงเทพฯ:สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2535. สืบค้นเมื่อ10/11/55
ไพศาล หวังพานิช.วิธีการวิจัย.กรุงเทพฯ:งานส่งเสริมวิจัยและตำรากองบริหารการศึกษามหาวิทยาลัย                            ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.2531.  สืบค้นเมื่อ10/11/55




12.       ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
การเขียนโครงร่างการวิจัย ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระเบียบวิธีวิจัย" นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
ก. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample)
ข. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
ถ้ารูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงส่วนที่ 3 อันได้แก่ การกำหนดสิ่งที่ต้องการ
ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)
        เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจะทำอย่างไร  โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
        1  วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
        2  แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
        3  ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
        4  วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
        5  วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
        6  การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้

images.jpatmod1.multiply.multiplycontent.com/
ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย
          1 ประชากร (population) และตัวอย่าง (sample) มีรายละเอียดในเรื่อง
                 1.1) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรและตัวอย่าง ทั้งกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา(inclusion criteria) และกฎเกณฑ์ในการตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria)
                 1.2) เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหรือไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
                 1.3) การคำนวณขนาดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้จะเป็นจำนวนตัวอย่างที่น้อยที่สุดที่สามารถตอบคำถามหลักของการวิจัยนั้น
          2 การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
                 2.1) ตัวแปรและคำนิยามเชิงปฏิบัติ
                 2.2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร
          3 วิธีการหรือสิ่งแทรกแซง (Intervention) กรณีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ควรอธิบายให้ละเอียดว่าใคร ทำอะไร ให้แก่ใคร ด้วยวิธีการอย่างไร ระยะเวลาที่ให้สิ่งแทรกแซง
                สรุป   ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย
          1 ประชากร (population) และตัวอย่าง (sample) มีรายละเอียดในเรื่อง
                 1.1) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรและตัวอย่าง ทั้งกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา(inclusion criteria) และกฎเกณฑ์ในการตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria)
                1. 2) เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหรือไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
                 1.3) การคำนวณขนาดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้จะเป็นจำนวนตัวอย่างที่น้อยที่สุดที่สามารถตอบคำถามหลักของการวิจัยนั้น
          2 การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
                 2.1) ตัวแปรและคำนิยามเชิงปฏิบัติ
                 2.2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร
          3 วิธีการหรือสิ่งแทรกแซง (Intervention) กรณีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ควรอธิบายให้ละเอียดว่าใคร ทำอะไร ให้แก่ใคร ด้วยวิธีการอย่างไร ระยะเวลาที่ให้สิ่งแทรกแซง
                และที่สำคัญต้องรู้จัก วิธีวิจัยว่าจะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อ10/11/55
images.jpatmod1.multiply.multiplycontent.com/   เข้าถึงเมื่อ10/11/55


13.       การรวบรวมข้อมูล ( Data Colloction )
 ประคอง  กรรณสูต. (2529:12) การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการและเทคนิคที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูล เพื่อการนำเสนอหรือนำไปดำเนินการตามหลักสถิติ ถ้าการออกแบบวิจัยที่ดีก็จะมีการกำหนดการเก็บรวบรวมข้อมูลดีด้วย ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้อาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงในรูปของตัวเลข เป็นต้น
             นิรันดร์  จุลทรัพย์. (2552:156) การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น การเก็บข้อมูล (Data Collection) และการรวบรวมข้อมูล
พิชิต  ฤทธิ์จรูญ. (2544:383) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการอธิบายถึงวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ว่าจะดำเนินการอย่างไร ในช่วงเวลาใด เช่น ส่งทางไปรษณีย์หรือนำไปให้กลุ่มตัวอย่างเอง โดยวิธีการสอบถาม ทดสอบ สัมภาษณ์ หรือสังเกต ในกรณีที่จะเป็นการวิจัยในเชิงทดลองจะต้องกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินการทดลอง พร้อมระบุการเก็บรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องตลอดการทดลอง
           สรุป
         การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการและเทคนิคที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูล เพื่อการนำเสนอหรือนำไปดำเนินการตามหลักสถิติ  โดยจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ในช่วงเวลาใด อาจใช้วิธีการสอบถาม แบบทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวิจัย
อ้างอิง
ประคอง  กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. ปทุมธานี:ศูนย์หนังสือ ดร.ศรีสง่า. 2529.    สืบค้นเมื่อ 10/11/55
นิรันดร์  จุลทรัพย์. การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว. นำศิลป์โฆษณา. 2552. สืบค้นเมื่อ 10/11/55
พิชิต  ฤทธิ์จรูญ. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:ศูนย์หนังสือราชภัฎพระนคร.2544.
              สืบค้นเมื่อ 10/11/55




14.       การวิเคราะห์ข้อมูล  (Data  Colloction)
e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf
การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึงการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จากกลุ่มตัวอย่างหรือจากประชากรการวิจัยจำนวนหนึ่ง มาจำแนกเพื่อตอบประเด็นปัญหาการวิจัย หรือทดสอบสมมุติฐานการวิจัยให้ครบทุกข้อ ถ้าข้อมูลเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลข ผู้วิจัยจะใช้วิธีการทางสถิติสรุปรวมข้อมูล แต่ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยจะใช้วิธีการสรุปความ หรือสังเคราะห์ข้อความ
สุภาพ วาดเขียน. (2520:30) การวิเคราะห์ข้อมูลคือการจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือของแหล่งที่มาตลอด การพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ตอบสมมติฐานหรือปัญหาที่ตั้งไว้หรือไม่ การวิเคราะห์ข้อมูลนับว่าเป็นการแสดงหรือการสาธิตผลการทดลองออกมาได้เห็นอย่างชัดเจนมีเหตุผล และนำเอาวิธีการทดลองสถิติมาใช้วิเคราะห์และตีความหมาย ซึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรอบรู้ เหตุผล ความยุติธรรม ความเชื่อได้ ความชำนาญ และหลักการต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์
สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์. (2545:10) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาว่าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกี่ตัวแปร และต้องการเสนอผลในรูปสถิติเชิงพรรณนาหรือสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับข้อมูลและการเสนอผล
               สรุป  การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึงการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จากกลุ่มตัวอย่างหรือจากประชากรการวิจัยจำนวนหนึ่งมาจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือของแหล่งที่มาตลอด การพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ตอบสมมติฐานหรือปัญหาที่ตั้งไว้หรือไม่ถ้าข้อมูลเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลข ผู้วิจัยจะใช้วิธีการทางสถิติสรุปรวมข้อมูล แต่ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยจะใช้วิธีการสรุปความ หรือสังเคราะห์ข้อความ
              อ้างอิง
e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf  เข้าถึงเมื่อ 10/11/55
สุภาพ วาดเขียน. วิธีวิจัยเชิงการทดลองทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2520.  สืบค้นเมื่อ 10/11/55
สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์, มิติใหม่ของการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2545.สืบค้นเมื่อ 10/11/55



15.       ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)
คณะกรรมการผลิตและบริหาร ชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  (2545 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า
1.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง
1) การรวบรวมข้อมูลวิจัยส่วนใหญ่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งอยู่ในสังคมในภาวะไร้อำนาจ เช่น ผู้ที่มีฐานะยากจน ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ผู้ที่มีการศึกษาต่ำ ทำให้พวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลด้านลบจากการมีส่วนร่วมในการวิจัยดังต่อไปนี้ คือ (1) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพ ทัศนคติ บุคลิกภาพและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง (2) ประสบการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดและความกังวล (3) การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวซึ่งอาจทำให้เขาได้รับความอับอายหรือต้องมีความรับผิดชอบในทางกฎหมายหากข้อมูลเหล่านั้นถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน (4) ได้รับข้อมูลที่ไม่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับตัวเองซึ่งเขาเองอาจไม่ต้องการรับรู้ (5) การล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความอับอายหรือเป็นอันตรายแก่ผู้ให้ข้อมูล
2) การให้ความยินยอมของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยควรได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยการให้ผู้ให้ข้อมูลลงนามในแบบฟอร์มการให้ความยินยอมในการให้ข้อมูล ทั้งนี้แบบฟอร์มดังกล่าวจะต้องระบุถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ภูมิหลังของผู้วิจัย และชี้ให้ผู้ให้ข้อมูลเห็นถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัย เช่น ประโยชน์ที่เขาจะได้รับ ความเสี่ยงที่อาจมี การให้สัญญาว่าจะแจ้งผลการวิจัยให้ผู้ให้ข้อมูลทราบ ชี้ให้เห็นถึงระดับของความลับของข้อค้นพบจากการวิจัย และที่สำคัญที่สุดจะต้องเน้นประเด็นสำคัญที่ว่าการเข้าร่วมในงานวิจัยเป็นความสมัครใจ การที่ผู้ให้ข้อมูลลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมจะเป็นสิ่งยืนยันว่าผู้ให้ข้อมูลรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและยินยอมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยโดยไม่มีการบังคับ
3) การให้สิ่งล่อใจ เช่น การให้สินจ้างรางวัลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้ผู้ให้ข้อมูลให้ความร่วมมือในการวิจัยโดยผู้ให้ข้อมูลไม่ทราบว่าการมีส่วนร่วมในการวิจัย จะมีผลทางลบต่อตนอย่างไร
4) การสอบถามข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาโสเภณี ซึ่งอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลอึดอัดหรือกลัวที่จะได้รับอันตราย
5) การรักษาความลับ ผู้วิจัยจะต้องปกปิดข้อมูลที่ได้ไว้เป็นความลับตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับผู้ให้ข้อมูล การไม่รักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตราย ถือว่าผู้วิจัยขาดจริยธรรมในการวิจัย                                                           
 2.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้วิจัย
1) การหลีกเลี่ยงความมีอคติ ผู้วิจัยควรหลีกเลี่ยงอคติส่วนตน เช่น การเลือกปฏิบัติทางเพศ การเหยียดผิว
2) การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) การวิจัยไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ต้องการ แต่อาจจะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดจากการให้หรืองดให้การกระทำบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยเชิงทดลอง
3) การใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสม ในการวิจัยควรใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสมกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษา หากผู้วิจัยไม่มีความชำนาญหรือไม่มีความระมัดระวังพอ ก็อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรืออาจมีความคลาดเคลื่อนในเชิงข้อเท็จจริงต่าง ๆ
4) การใช้วิธีการปกปิด (covert methods) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการวิจัย เช่น การปลอมตัว การปกปิดวิธีวิจัย
5) การรายงานผลการวิจัยที่ถูกต้อง การรายงานผลการวิจัยบางครั้งบางครั้งมีการบิดเบือนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางประการ ซึ่งอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยไม่ควรกระทำ
6) การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำแนวทางผลการวิจัยไปในทางที่สร้างสรรค์ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
7) การแบ่งผลงานระหว่างผู้ร่วมวิจัยอย่างเป็นธรรม
3.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย
1) ข้อจำกัดของหน่วยงานที่ให้ทุน หน่วยงานที่ให้ทุนอาจมีข้อจำกัดบางประการซึ่งทำให้การวิจัยอาจมีปัญหาทางด้านจริยธรรมในการวิจัย เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่จะให้ผลทางด้านบวกต่อการวิจัย การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) บางอย่างในการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
2) การนำผลการวิจัยไปใช้ บางครั้งหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยอาจมีจุดประสงค์ซ่อนเร้น เช่น การให้ทุนวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือประโยชน์ทางธุรกิจ
4.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม
สิทธิของสังคมโดยรวมควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถีงแม้ว่าการวิจัยส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา สังคม สาธารณสุขและสภาพแวดล้อม แต่การวิจัยบางเรื่องอาจทำให้คนในสังคมบางกลุ่มรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธในการให้ข้อมูล เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ การฝ่าฝืนกฎจราจร พฤติกรรมทางเพศ ซึ่งผู้วิจัยก็จะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมก็ตาม
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544 : 28) ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
1.การตั้งชื่อเรื่อง
- ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
- ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
2.การขอรับทุนสนับสนุน
- งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
- เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
- แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
- การติดสินบนผู้พิจารณา
- ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
- ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน
- ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
- การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
- การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
3.งบประมาณการวิจัย
- ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
4.การทำวิจัย
- แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
- ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
- ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
- ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
- เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
- ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
- นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
- ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
5.การเขียนรายงานการวิจัย
- จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้งรายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
- คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
- นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
6.การส่งผลงานวิจัย
- ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
- ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ
องอาจ นัยพัฒน์. (2548 : 24) ได้กล่าวไว้ว่าจริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย
ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
                 สรุป
                ปัญหาทางจริยธรรม
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ของผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง หรือไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูลเสียก่อนไม่เป็นการบังคับ การให้สิ่งล่อใจเป็นสินจ้างรางวัลแก่ผู้ให้ข้อมูล และต้องรักษาความลับปกปิดข้อมูลที่ได้ เพื่อไม่ให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตรายจากการให้ข้อมูล
2.ผู้วิจัยต้องหลีกเลี่ยงความมอคติส่วนตน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมะสมกับหัวข้อที่จะวิจัย ถ้าไม่เหมาะสมอาจทำให้ผลการวิจัยไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และต้องรายงานผลการวิจัยที่๔กต้องไม่บิดเบือนข้อมูลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และควรนำผลการวิจัยไปใช้ในทางที่สร้างสรรค์
3.หน่วยงานที่ให้ทุนไปใช้ในการวิจัย บางครั้งหน่วยงานเหล่านี้อาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝง หรือซ่อนเร้นบางสิ่งบางอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์จากการวิจัย เช่น ทางการเมือง ทางธุรกิจ
4.ถ้างานวิจัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม ก็ควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถึงแม้ว่าการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มนี้อาจจะรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธการให้ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย 
                 อ้างอิง
คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.สถิติและการวิจัยสังคมศาสตร์.
                นนทบรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2545.  สืบค้นเมื่อ 10/11/55
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎพระนคร.
                2544.   สืบค้นเมื่อ 10/11/55
องอาจ นัยพัฒน์.วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
                กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.2548.  สืบค้นเมื่อ 10/11/55


16.       ข้อจำกัดในการวิจัย ( Limitation )/ ขอบเขตการทำวิจัย
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921
        เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
 
www.eng.su.ac.th/che/old53/faculty_and_staff/.../research-4.pdf
1.             ขอบเขตของการวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตของการวิจัยครั้งนี้ให้จำเพาะเจาะจง ว่าสิ่งใดต้องการวิจัยและสิ่งใดที่ไม่ต้องการวิจัย
2.             ขอบเขตของการวิจัย เป็นการจำกัดขอบเขตในด้านต่าง ๆของการวิจัยให้แคบลงเพื่อไม่ให้งานวิจัยมีขอบเขตการศึกษากว้างขวางจนเกินไป ซึ่งหมายถึงสาระหรือวัตถุประสงค์หรือประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษารวมทั้งประเภทและลักษณะของประชากรที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา
3.             รูปแบบการเขียน ขอบเขตการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วย 5 เรื่อง
       - ขอบเขตเกี่ยวกับประเด็นหลักในชื่อเรื่อง
       - ขอบเขตเกี่ยวกับประชากรในการวิจัย
       - ขอบเขตเกี่ยวกับพื้นที่ที่ใช้วิจัย
       - ขอบเขตเกี่ยวกับเวลาที่ทำวิจัย
       - ขอบเขตเกี่ยวกับตัวแปร                                                                                                                                               4. การเขียนขอบเขตการวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
      - เขียนเป็นข้อๆหรืออาจเขียนพรรณนาก็ได้
      - เขียนให้ขยายความขอบเขตที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องการวิจัย
      - เขียนโดยใช้คำที่แสดงถึงขอบเขต เช่น คำว่าศึกษาเฉพาะ’ ‘ครอบคลุมถึงหรือไม่รวมถึงหรือจบด้วยเท่านั้น
ขอบเขตของงานวิจัย( boundary of research problem ) มักพบเจอในการเขียนบทที่ 1 การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนี้ เกี่ยวข้องใกล้ชิด กับการกำหนดปัญหาการวิจัยที่ชัดเจน ลักษณะของขอบเขตของการวิจัยมีประเด็นที่ควรกล่าวถึง ประกอบด้วย ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่างหรือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ที่ต้องระบุว่ามีลักษณะเช่นใด เกี่ยวกับ ชาติพันธุ์ เพศ เศรษฐกิจและสังคมที่จะทำให้ผู้อ่านงานวิจัย หรือนักวิจัยเองทราบว่า การตีความข้อค้นพบหรือ ผลจากการวิจัย ทำภายในขอบเขตเช่นไร เช่น การวิจัยเพื่อสร้างโมเดล การออมเงินของ นักศึกษามหาวิทยาลัย ขอบเขตของการตีความก็อยู่ในบริบทของอายุ และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย ขอบเขตด้านทฤษฎี อาจประกอบด้วยการระบุชื่อของทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง การตีความต้องอยู่บนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีนั้น ในงานวิจัยระดับปริญญาเอก โท ของหลายมหาวิทยาลัยเวลาระบุเกี่ยวกับขอบเขตไปใส่หัวข้อว่ากลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม นั้นเป็นการเขียนที่บอกข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขต แต่มิได้เป็นการระบุขอบเขตที่ควรทำเพราะให้ข้อมูลในระดับปฏิบัติการมากการให้ข้อมูลระดับconcept
สรุป         เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา
รูปแบบการเขียนขอบเขตการวิจัยประกอบด้วย 5 เรื่อง
       - ขอบเขตเกี่ยวกับประเด็นหลักในชื่อเรื่อง
       - ขอบเขตเกี่ยวกับประชากรในการวิจัย
       - ขอบเขตเกี่ยวกับพื้นที่ที่ใช้วิจัย
       - ขอบเขตเกี่ยวกับเวลาที่ทำวิจัย
       - ขอบเขตเกี่ยวกับตัวแปร                                                                                                                                               การเขียนขอบเขตการวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
      - เขียนเป็นข้อๆหรืออาจเขียนพรรณนาก็ได้
      - เขียนให้ขยายความขอบเขตที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องการวิจัย
      - เขียนโดยใช้คำที่แสดงถึงขอบเขต เช่น คำว่าศึกษาเฉพาะ’ ‘ครอบคลุมถึงหรือไม่รวมถึงหรือจบด้วยเท่านั้น
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อ10/11/55
 www.eng.su.ac.th/che/old53/faculty_and_staff/.../research-4.pdf    เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html   เข้าถึงเมื่อ10/11/55





17.       ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application) http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5
เป็นการย้ำ ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921
        อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
http://www.oknation.net/blog/samja/2009/01/19/entry-3
ประโยชน์ของการวิจัย 
1.ช่วยให้เข้าใจทฤษฎี  แนวความคิด  ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 
2.ช่วยป้องกันการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับคนอื่น ๆ  ที่วิจัยไปแล้ว 
                3. ช่วยให้ทราบผลงานวิจัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย  ว่ามีการศึกษาค้นคว้ากว้างขวางมากน้อยแค่ไหน  ในแง่มุมใด  ผลการวิจัยเป็นเช่นไร  ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่จะนำมาประกอบเหตุผลในการตั้งสมมติฐานของผู้วิจัย  และนำมาประกอบเหตุผลในการอภิปรายผลการวิจัย 
                     4. เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย  เลือกตัวแปรที่จะศึกษา  ออกแบบการวิจัย  สร้างเครื่องมืวิเคราะห์ข้อมูล  แปรผล  สรุปผล  และเขียนรายงานการวิจัย 
                        5. เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของเรื่องที่จะวิจัย  เพราะในการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอย่างกว้างขวางจริงจัง  จะช่วยให้เข้าใจในเรื่องที่จะศึกษาอย่างลุ่มลึก  ในการศึกษาผลงานวิจัยต่าง ๆ  ทำการพิจารณาถึงจุดอ่อนและจุดดีของแต่ละเรื่อง  แล้วหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดดีเหล่านั้นให้เกิดขึ้นในการวิจัยของตน
                สรุป ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย  อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการเป็นการย้ำ ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ
ประโยชน์ของการวิจัย 
1.             ช่วยให้เข้าใจทฤษฎี  แนวความคิด  ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 
2.             ช่วยป้องกันการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับคนอื่น ๆ  ที่วิจัยไปแล้ว 
3.             ช่วยให้ทราบผลงานวิจัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย  ว่ามีการศึกษาค้นคว้ากว้างขวางมากน้อยแค่ไหน  ในแง่มุมใด  ผลการวิจัยเป็นเช่นไร
4. เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย  เลือกตัวแปรที่จะศึกษา  ออกแบบการวิจัย  สร้างเครื่องมือ  วิเคราะห์ข้อมูล  แปรผล  สรุปผล  และเขียนรายงานการวิจัย 
5. เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของเรื่องที่จะวิจัย 
        อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://www.oknation.net/blog/samja/2009/01/19/entry-3  เข้าถึงเมื่อ10/11/55





18.       อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระห่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)
3kritsana125.blogspot.com/2012/11/blog-post.html กล่าวว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1. ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน
สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
2. ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
3. มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
4. นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
5. ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
 แนวทางการแก้ไข
1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
2. สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
4. ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง
www.op.mahidol.ac.th/orra/orra_tha/.../ASEAN.pdf กล่าวว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
 แนวทางการแก้ไข
นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
                แนวทางการแก้ไข
อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว
                 สรุป
                การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้และมองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง
                         แนวทางการแก้ไข
1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
2. สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
4. ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

อ้างอิง

3kritsana125.blogspot.com/2012/11/blog-post.html  เข้าถึงเมื่อ 20/11/55
www.op.mahidol.ac.th/orra/orra_tha/.../ASEAN.pdf  เข้าถึงเมื่อ 20/11/55
cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  เข้าถึงเมื่อ 20/11/55





19.       การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)
การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)
ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น

- ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ติดต่อผู้นำชุมชน
- การเตรียมชุมชน
- การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
- การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
- การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
- การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ

- ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน

3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน (Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม (control) เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control) นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป โดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการ (chain of command) เพื่อวางโครงสร้าง ของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ ตลอดจนติดตามประเมินผล ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่ (flow chart) เช่น

ง. การควบคุมโครงการ (Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัย ทำเสร็จทันเวลา ซึ่งปกติจะใช้ Gantt’s chart
Gantt’s chart จะดูความสัมพันธ์ ระหว่างกิจกรรม ที่จะปฏิบัติ และระยะเวลา ของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอน จะเป็น ระยะเวลา ที่ใช้ ของแต่ละ กิจกรรม ส่วนแนวตั้ง จะเป็น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ กำหนดไว้ จากนั้น จึงใช้ แผนภูมิแท่ง (bar chart) ในการแสดง ความสัมพันธ์นี้
http://nitytyyy.blogspot.com/2012/11/19.html
การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.             วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2.             กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
2.1 ขั้นเตรียมการ
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ติดต่อผู้นำชุมชน
- การเตรียมชุมชน
- การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
- การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
- การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
- การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่
ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
สรุป
การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

อ้างอิงจาก 
เสนาะ ติเยาว์, หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.


พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย,2545.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล, หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด, 2542. 
สืบค้นเมื่อวันที่  5  พฤศจิกายน  2555



20.       งบประมาณ (budget)
  งบประมาณ (budget)
        การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
        12.1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        12.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        12.3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        12.4 ค่าครุภัณฑ์
        12.5 ค่าประมวลผลข้อมูล
        12.6 ค่าพิมพ์รายงาน
        12.7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
                  โครงการแล้ว
        12.8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
http://www.learners.in.th/blogs/posts/155175
งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน  สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า   ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน  6 เดือน  หรือ  1 ปี   และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา  3  ปี   5  ปี   การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร   และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้
งบประมาณ (Budgeting) คือ การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงินจำนวนชั่วโมงในการทำงานจำนวนผลิตภัณฑ์จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ย เป็นต้น
สรุป งบประมาณ (Budgeting) คือการวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงินจำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ย  ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน  6 เดือน  หรือ  1 ปี   และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา  3  ปี   5  ปี 
การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
       1.เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
       2.ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
       3.ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
       4.ค่าครุภัณฑ์
       5.ค่าประมวลผลข้อมูล
       6.ค่าพิมพ์รายงาน
       7.ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงานหรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
       8.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
                อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 10/11/55
http://www.learners.in.th/blogs/posts/155175  เข้าถึงเมื่อ 10/11/55
http://www.imd.co.th/knowledge.php?id=8  เข้าถึงเมื่อ 10/11/55




21.       เอกสารอ้างอิง (References)
การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงรวมทั่งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม
การอ้างอิงเอกสาร หรือทรัพยากรสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (เชิงอรรถ)
2. การอ้างอิงท้ายเรื่อง หรือท้ายเล่ม (บรรณานุกรม)
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809
เอกสารอ้างอิง หมายถึง หนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการค้นคว้าที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพื่อศึกษาหาข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานโดยให้เขียนชื่อหนังสือที่เป็นภาษาไทยให้ครบทุกเล่มก่อน และต่อด้วยหนังสือภาษาอังกฤษ โดยเรียงชื่อผู้แต่งตามอักษรก่อนหลัง
เอกสารอ้างอิง เป็นรายชื่อสิ่งพิมพ์ หรือโสตทัศนวัสดุที่ผู้วิจัยใช้อ้างอิงในการวิจัย ซึ่งได้เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ดังนั้นรายการเอกสารอ้างอิงจึงควรมีรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สรุป  เอกสารอ้างอิง หมายถึง  แหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิมซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ การอ้างอิงเอกสาร หรือทรัพยากรสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (เชิงอรรถ)
2. การอ้างอิงท้ายเรื่อง หรือท้ายเล่ม (บรรณานุกรม)
อ้างอิง
http://wtoy9996.blogspot.com/  เข้าถึงเมื่อ10/11/55
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809   เข้าถึงเมื่อ10/11/55      
http://www.slideshare.net/jiratt/ss-4800617   เข้าถึงเมื่อ10/11/55




22.       ภาคผนวก (Appendix)
สิ่งที่นำมาเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
ภาคผนวกคือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้ายเพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์ในข้อมูล เนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย ภาคผนวกอาจประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากส่วนที่จัดไว้ในเนื้อหา สำเนาเอกสารหายาก
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ นอกจากนี้อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น คำอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอน หรือวิธีทำภาพประกอบ การสร้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทดลองผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นในโครงการวิจัยนั้น ๆ สำหรับกรณีมีภาคผนวกหลายภาค ให้จัดเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข
และภาคผนวก ค ตามลำดับ และให้ขึ้นหน้าใหม่เมื่อขึ้นภาคผนวกใหม่และพิมพ์หน้าบอกตอนสำหรับภาคผนวกนั้น ๆ ด้วย
actech.agritech.doae.go.th/techno/training/Tamra/lesson4.pdf
ภาคผนวก เป็นส่วนท้ายของตำรา ซึ่งไม่ใช่เนื้อเรื่องแท้จริงของงานเขียน ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยทั่วไปสิ่งที่จะนำมาไว้ในภาคผนวกจะประกอบด้วย
1. ตาราง กราฟ แผนที่ แผนภูมิ ในการเขียนตำรา หรือรายงานการวิจัย บางครั้งอาจมีตาราง กราฟ แผนที่และแผนภูมิ ซึ่งมีความละเอียด หากใส่ไว้ในเนื้อหาจะทำให้เรื่องไม่กระชับ
2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย เช่น วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ นิยมนำเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ มาใส่ไว้ในภาคผนวก เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษารายละเอียดและเป็นหลักฐานยืนยัน
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ในกรณีที่การวิจัยนั้นมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือรวบรวมข้อมูล เช่น การตรวจสอบความเที่ยง ตรวจสอบความตรง วิเคราะห์ความยากง่าย และอำนาจจำแนก โดยจะนำผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์มานำเสนอไว้ และมีตัวอย่างการคำนวณด้วยเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำไปศึกษาค้นคว้าต่อไป
4. ภาพประกอบต่าง ๆ สูตรการใช้สารเคมี ในกรณีที่ผู้เขียนได้เขียนเอกสารทางวิชาการ ด้านการเกษตร บทเรียนโปรแกรมสำเร็จรูป สามารถแยกมาไว้ในภาคผนวก จะทำให้เขียนรายละเอียดได้ครบถ้วนยิ่งขึ้น
5. สำเนาเอกสารหายาก รายงานการวิจัยบางเรื่องอาจจะต้องใช้เอกสารหลักฐานจำนวนมากที่หายากเพื่อใช้ประกอบในงาน จึงควรนำมาใส่รวมกันไว้ในภาคผนวก
6. ข้อความ ทฤษฎี หรือเทคนิควิธีที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดมาก รวมทั้งวิธีการคำนวณค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติ ก็จะนำรายละเอียดมาใส่ไว้ด้วยกัน
7. หนังสือขอความร่วมมือเก็บข้อมูล หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือหนังสืออื่น ๆ ที่จะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย
ส่วนประกอบของภาคผนวกเหล่านี้ เมื่อนำมาไว้ในภาคผนวกจะจัดแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของเอกสารข้อมูล โดยอาจกำหนดเป็นภาคผนวก ก...ข...ค ซึ่งจะต้องระบุไว้ในสารบัญ โดยเรียงลำดับต่อจากสารบัญเนื้อหา
                สรุป  ภาคผนวกคือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้ายเพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์ในข้อมูล เนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยทั่วไปสิ่งที่จะนำมาไว้ในภาคผนวกจะประกอบด้วย
1. ตาราง กราฟ แผนที่ แผนภูมิ
2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล
4. ภาพประกอบต่าง ๆ สูตรการใช้สารเคมี
5. สำเนาเอกสารหายาก
6. ข้อความ ทฤษฎี หรือเทคนิควิธีที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดมาก รวมทั้งวิธีการคำนวณค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติ ก็จะนำรายละเอียดมาใส่ไว้ด้วยกัน
7. หนังสือขอความร่วมมือเก็บข้อมูล หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือหนังสืออื่น ๆ ที่จะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย
เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ10/11/55
actech.agritech.doae.go.th/techno/training/Tamra/lesson4.pdf  เข้าถึงเมื่อ10/11/55




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น