วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)

.       การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5
การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)
ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
- ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ติดต่อผู้นำชุมชน
- การเตรียมชุมชน
- การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
- การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
- การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
- การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
- ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน (Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม (control) เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control) นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป โดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการ (chain of command) เพื่อวางโครงสร้าง ของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ ตลอดจนติดตามประเมินผล ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่ (flow chart) เช่น
ง. การควบคุมโครงการ (Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัย ทำเสร็จทันเวลา ซึ่งปกติจะใช้ Gantt’s chart
Gantt’s chart จะดูความสัมพันธ์ ระหว่างกิจกรรม ที่จะปฏิบัติ และระยะเวลา ของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอน จะเป็น ระยะเวลา ที่ใช้ ของแต่ละ กิจกรรม ส่วนแนวตั้ง จะเป็น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ กำหนดไว้ จากนั้น จึงใช้ แผนภูมิแท่ง (bar chart) ในการแสดง ความสัมพันธ์นี้


http://nitytyyy.blogspot.com/2012/11/19.html
การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.             วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2.             กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
2.1 ขั้นเตรียมการ
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
-
ติดต่อผู้นำชุมชน
-
การเตรียมชุมชน
-
การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
-
การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
-
การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
-
การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
-
การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
-
ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่
ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง


สรุป
การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง


อ้างอิงจาก 
เสนาะ ติเยาว์, หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย,2545.

ภิรมย์ กมลรัตนกุล, หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด, 2542. 
สืบค้นเมื่อวันที่  5  พฤศจิกายน  2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น