วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)

ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)


การวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย


ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไร เช่น ผู้วิจัยเลือกใช้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพราะผู้วิจัยมีฐานคิดว่า “reality” อยู่ที่ความเชื่อ ความคิด ของผู้ให้ข้อมูล ดังนั้นการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล


การวิจัยนั้นความจริงเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถ นำมาประยุกต์ ใช้ทางมนุษย์ศาสตร์ได้ดี ดังนั้น การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อตกลงเบื้องต้นนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
1. 
ข้อตกลงที่เกี่ยวกับรูปแบบกายภาพทางธรรมชาติ (Assumption of Uniformity of Nature) หมายถึง ข้อตกลงของปรากฏการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีเหตุผล และเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด มีแบบฉบับตายตัวที่เกิดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งข้อตกลงนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้
             1.1
ชนิดของธรรมชาติ (Postulate of Natural Kinds) หมายถึงธรรมชาติมี โครงสร้าง คุณสมบัติ และจดหมายของตัวเอง เช่น การจัดหมวดหมู่ของ สัตว์ พืช ดิน น้ำ ไว้เป็นกลุ่มเป็นพวก
              1.2
ความสม่ำเสมอ (Postulate of Constancy) หมายถึงปรากฏการณ์ตาม ธรรมชาติ จะคุมคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะอย่าง เช่น น้ำจะแข็งเมื่ออากาศเย็นจัด แต่ถ้าอากาศอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็จะละลาย เป็นน้ำ
              1.3
ความเป็นเหตุเป็นผล (Determinism) หมายถึง ปรากฏการณ์ทั้งหลายใน ธรรมชาติมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น และผลก็จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น เช่น ถ้าอยากวาดภาพสีน้ำ หากเรามีแต่น้ำไม่มีสีก็ไม่สามารถ วาดภาพได้
2.  ข้อตกลงที่เกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา (Assumption Concerning the Psychological Process) ข้อตกลงนี้หมายถึง การที่บุคคลได้รับความรู้ต่าง ๆ โดยอาศัยจิตวิทยา 3 ประการ ได้แก่ การรับรู้ (Perceiving) การจำ (Remembering) และการใช้เหตุผล (Reasoning) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ได้แก่
          2.1
ความเชื่อถือของการรับรู้ (Postulate of Reliability of Percieving) หมายถึง การรับรู้ของบุคคลต้องเชื่อถือได้ และมีความแน่นอน หรือมีความเที่ยงตรง
          2.2
ความเชื่อถือของการจำ (Postulate of Reliability of Remembering) หมายถึงว่า การจำต้องมีความน่าเชื่อถือว่าถูกต้อง ซึ่งการจำนี้ทำได้โดย การจดบันทึก หรือใช้เอกสาร เทปบันทึก หลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำ อย่างถูกต้อง
         2.3
ความเชื่อถือของการใช้เหตุผล (Postuiate of Reliability of Reasoning) หมายถึงการใช้เหตุผลในการหาความรู้ ต้องมีความเชื่อมั่นว่า ได้มาอย่าง ถูกต้อง มีระบบความคิดที่เป็นระบบ และสามารถนำมาใช้เป็นทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้


                สรุป   ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถ นำมาประยุกต์ ใช้ทางมนุษย์ศาสตร์ได้ดี ดังนั้น การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อตกลงเบื้องต้นนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
                1.  ข้อตกลงที่เกี่ยวกับรูปแบบกายภาพทางธรรมชาติ (Assumption of Uniformity of Nature) หมายถึง ข้อตกลงของปรากฏการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีเหตุผล และเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด มีแบบฉบับตายตัวที่เกิดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งข้อตกลงนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้
          1.1
ชนิดของธรรมชาติ (Postulate of Natural Kinds)
1.2 ความสม่ำเสมอ (Postulate of Constancy)
1.3 ความเป็นเหตุเป็นผล (Determinism)
2.  ข้อตกลงที่เกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา (Assumption Concerning the Psychological Process) ข้อตกลงนี้หมายถึง การที่บุคคลได้รับความรู้ต่าง ๆ โดยอาศัยจิตวิทยา 3 ประการ ได้แก่ การรับรู้ (Perceiving) การจำ (Remembering) และการใช้เหตุผล (Reasoning) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ได้แก่
          2.1
ความเชื่อถือของการรับรู้ (Postulate of Reliability of Percieving)
          2.2 ความเชื่อถือของการจำ (Postulate of Reliability of Remembering)
          2.3 ความเชื่อถือของการใช้เหตุผล (Postuiate of Reliability of Reasoning)


                อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5   เข้าถึงเมื่อ10/11/55.
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html   เข้าถึงเมื่อ10/11/55.
http://www.researchers.in.th/blogs/posts/280  เข้าถึงเมื่อ10/11/55.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น