วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ชื่อเรื่อง


โครงร่างการวิจัย  ควรมีส่วนประกอบที่สำคัญ  22  ประการ

ชื่อเรื่อง (The Title)
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5
ชื่อเรื่อง มักเป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรก ของโครงร่างการวิจัยทั้งโครงการ จึงควรตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ พิจารณาแล้ว เป็นเรื่องที่วิจัยได้ (researchable topic) และควรแก่การแสวงหาคำตอบโดยทั่วไป หลักในการตั้งชื่อเรื่อง ทำได้โดยหยิบยกเอาคำสำคัญ (key words) ของเรื่องที่จะทำวิจัย ออกมาประกอบกันเป็นชื่อเรื่อง จะทำให้ชื่อนั้นสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และสื่อความหมาย ครอบคลุมความสำคัญ ของเรื่องที่จะศึกษาทั้งหมด

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921
    ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่นประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547”
       
นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
        1.1   
ความสนใจของผู้วิจัย
                 
ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
        1.2   
ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
                 
ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
                 
โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
        1.3   
เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
                 
เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
                 
ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ
                 
บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
        1.4   
ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
                 
ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
                 
ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ
                 
ระเบียบวิธีของการวิจัย
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2534:32) กล่าวว่าต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม


 
สรุป   ชื่อเรื่องเป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรก ของโครงร่างการวิจัยจึงควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร  ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
1    ความสนใจของผู้วิจัย
2   
ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
3   
เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
4   
ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว


อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5 เข้าถึงเมื่อ 22/11/55.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921เข้าถึงเมื่อ 22/11/55.
เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์. การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2537.
สืบค้นเมื่อ22/11/55.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น