วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

สมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)

.              สมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)

 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผล จึงมักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระ (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค AIDS
สมมติฐาน ทำหน้าที่เสมือน เป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
สมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถ้าทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชนิด ไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน เช่น การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory or formulative research) เป็นต้น

www.eng.su.ac.th/che/old53/faculty_and_staff/.../research-4.pdf
สมมติฐาน คือ ข้อเท็จจริงที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือระหว่างข้อความในเชิงที่สามารถทำการทดสอบได้ โดยทั่วไปสมมติฐานเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี หากข้อสมมติฐานหรือทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงเสมอจึงกลายเป็นกฎ

http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/t2-32.htm
สมมติฐาน  คือ การคาดคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์  และการศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้องแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับจนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อน  จึงจะทราบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่  ดังนั้นควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ ข้อ และทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานไปพร้อมๆ กัน
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
 1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย  มักนิยมใช้วลี "ถ้าดังนั้น"
 2.
เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
 3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
 4.
เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่เคยยอมรับอาจล้มเลิกได้ถ้ามีข้อมูลจากการทดลองใหม่ๆ มาลบล้าง  แต่ก็มีบางสมมติฐานที่ไม่มีข้อมูลจากการทดลองมาคัดค้านทำให้สมมติฐานเหล่านั้นเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้อง เช่น สมมติฐานของเมนเดลเกี่ยวกับหน่วยกรรมพันธุ์ ซึ่งเปลี่ยนกฎการแยกตัวของยีน หรือสมมติฐานของอโวกาโดรซึ่งเปลี่ยนเป็นกฎของอโวกาโดร
สรุป  การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผลสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถ้าทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น  หากข้อสมมติฐานหรือทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงเสมอจึงกลายเป็นกฎ
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
 1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย  มักนิยมใช้วลี "ถ้าดังนั้น"
 2.
เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
 3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
 4.
เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้ง  ไว้
              
  อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ10/11/55.
www.eng.su.ac.th/che/old53/faculty_and_staff/.../research-4.pdf     เข้าถึงเมื่อ10/11/55.

http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/t2-32.htm   เข้าถึงเมื่อ10/11/55.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น