วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาคผนวก (Appendix)

ภาคผนวก (Appendix)


 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5
สิ่งที่นำมาเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้า


http://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:rR7uJzad1wJ:www.gde.lru.ac.th/download/thesis/08
ภาคผนวกคือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้ายเพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์ในข้อมูล เนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย ภาคผนวกอาจประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากส่วนที่จัดไว้ในเนื้อหา สำเนาเอกสารหายาก
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ นอกจากนี้อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น คำอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอน หรือวิธีทำภาพประกอบ การสร้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทดลองผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นในโครงการวิจัยนั้น ๆ สำหรับกรณีมีภาคผนวกหลายภาค ให้จัดเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข
และภาคผนวก ค ตามลำดับ และให้ขึ้นหน้าใหม่เมื่อขึ้นภาคผนวกใหม่และพิมพ์หน้าบอกตอนสำหรับภาคผนวกนั้น ๆ ด้วย


actech.agritech.doae.go.th/techno/training/Tamra/lesson4.pdf
ภาคผนวก เป็นส่วนท้ายของตำรา ซึ่งไม่ใช่เนื้อเรื่องแท้จริงของงานเขียน ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยทั่วไปสิ่งที่จะนำมาไว้ในภาคผนวกจะประกอบด้วย
1. ตาราง กราฟ แผนที่ แผนภูมิ ในการเขียนตำรา หรือรายงานการวิจัย บางครั้งอาจมีตาราง กราฟ แผนที่และแผนภูมิ ซึ่งมีความละเอียด หากใส่ไว้ในเนื้อหาจะทำให้เรื่องไม่กระชับ
2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย เช่น วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ นิยมนำเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ มาใส่ไว้ในภาคผนวก เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษารายละเอียดและเป็นหลักฐานยืนยัน
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ในกรณีที่การวิจัยนั้นมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือรวบรวมข้อมูล เช่น การตรวจสอบความเที่ยง ตรวจสอบความตรง วิเคราะห์ความยากง่าย และอำนาจจำแนก โดยจะนำผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์มานำเสนอไว้ และมีตัวอย่างการคำนวณด้วยเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำไปศึกษาค้นคว้าต่อไป
4. ภาพประกอบต่าง ๆ สูตรการใช้สารเคมี ในกรณีที่ผู้เขียนได้เขียนเอกสารทางวิชาการ ด้านการเกษตร บทเรียนโปรแกรมสำเร็จรูป สามารถแยกมาไว้ในภาคผนวก จะทำให้เขียนรายละเอียดได้ครบถ้วนยิ่งขึ้น
5. สำเนาเอกสารหายาก รายงานการวิจัยบางเรื่องอาจจะต้องใช้เอกสารหลักฐานจำนวนมากที่หายากเพื่อใช้ประกอบในงาน จึงควรนำมาใส่รวมกันไว้ในภาคผนวก
6. ข้อความ ทฤษฎี หรือเทคนิควิธีที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดมาก รวมทั้งวิธีการคำนวณค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติ ก็จะนำรายละเอียดมาใส่ไว้ด้วยกัน
7. หนังสือขอความร่วมมือเก็บข้อมูล หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือหนังสืออื่น ๆ ที่จะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย
ส่วนประกอบของภาคผนวกเหล่านี้ เมื่อนำมาไว้ในภาคผนวกจะจัดแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของเอกสารข้อมูล โดยอาจกำหนดเป็นภาคผนวก ก...ข...ค ซึ่งจะต้องระบุไว้ในสารบัญ โดยเรียงลำดับต่อจากสารบัญเนื้อหา
               

 สรุป  ภาคผนวกคือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้ายเพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์ในข้อมูล เนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยทั่วไปสิ่งที่จะนำมาไว้ในภาคผนวกจะประกอบด้วย
1. ตาราง กราฟ แผนที่ แผนภูมิ
2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล
4. ภาพประกอบต่าง ๆ สูตรการใช้สารเคมี
5. สำเนาเอกสารหายาก
6. ข้อความ ทฤษฎี หรือเทคนิควิธีที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดมาก รวมทั้งวิธีการคำนวณค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติ ก็จะนำรายละเอียดมาใส่ไว้ด้วยกัน
7. หนังสือขอความร่วมมือเก็บข้อมูล หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือหนังสืออื่น ๆ ที่จะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย
เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
            

 อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-5  เข้าถึงเมื่อ10/11/55.
actech.agritech.doae.go.th/techno/training/Tamra/lesson4.pdf  เข้าถึงเมื่อ10/11/55.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น