วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)

     ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)
คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริง กรณีที่เป็นศิลปะนิพนธ์ให้อธิบายเหตุผลที่เลือกทำศิลปะนิพนธ์เรื่องนี้ โดยอ้างทฤษฎีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาที่ต้องการทราบและความสำคัญหรือประโยชน์ของการทำศิลปะนิพนธ์เรื่องนี้มาสนับสนุนเหตุผล ควรเขียนให้กระชับและให้ความชัดเจน จากเนื้อหาในมุมกว้างแล้วเข้าสู่ปัญหาของศิลปะนิพนธ์ที่ทำ เพื่อให้สามารถโน้มน้าวให้ผู้อ่านหรือผู้อนุมัติโครงการวิจัยคล้อยตามว่าถ้าหากวิจัยแล้วจะเกิดคุณประโยชน์อย่างไร แล้วสรุปเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์การวิจัย http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm
ในเรื่องความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาในที่นี้จะกล่าวถึง แนวทางการเรียนที่ควรจะปรากฎอยู่ในรายงานการวิจัยโดยทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1. แนะปัญหาที่กำลังค้นคว้า เป็นการท้าวภูมิหลัง ความเป็นมา มีการจัดลำดับให้ชัดเจนของเรื่องราว แหล่งกำเนิด ผู้ค้นพบ การสืบทอดของปัญหา ที่มาของการวิจัย โดยใช้เหตุและผลมาสนับสนุนความคิดต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อชี้แนะให้เห็นความจำเป็น และความสำคัญของการทำวิจัย เรื่องที่อ้างอิง และสนับสนุนควรจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเท่านั้น
2. กล่าวถึง จุดสนใจของการศึกษาค้นคว้า และมูลเหตุของการทำวิจัย ที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาค้นคว้า เช่น เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจในขณะนั้น หรือเป็นเรื่องราวที่ยังมิได้รับคำตอบครบถ้วน หรือขาดรายละเอียด
3. มีการเขียนบรรยายถึงความจำเป็นในการศึกษา และการได้รับคำตอบจากงานวิจัย มีคุณประโยชน์ และมีคุณค่าอย่างไร
4. กล่าวถึงความต้องการ และยืนยัน หรือลบล้างความเปลี่ยนแปลงของสภาพ และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เคยได้มีการศึกษามาแล้ว ได้ใช้หลักการ และเหตุผลในการสนองตอบ และหักล้างแนวความคิด
5. ในการเขียนนำเรื่องความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาอาจใช้วิธีต่อไปนี้
    5.1 มีการเขียนจากหลักการ และนำเข้าสู่เรื่องเฉพาะ (Deductive Method)
    5.2 เขียนจากเรื่องเฉพาะ แล้วดำเนินไปถึงเรื่องทั่ว ๆ ไป (Inductive Method)
อย่างไรก็ตามในการเขียนนำในเรื่องความเป็นมานั้น จะใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และการวางแผนงานของผู้วิจัย แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยควรหาหลักฐานในการยืนยันมาสนับสนุนข้อมูลทุกขั้นตอน และพยายามทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้เรื่อง และติดตามงานวิจัยตลอดทั้งเรื่อง


    อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
             

   สรุป ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย คือ การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริงมีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร


อ้างอิง
http://rforvcd.wordpress.com/  เข้าถึงเมื่อ22/11/55.
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   เข้าถึงเมื่อ22/11/55.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ22/11/55.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น